ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์
บรุนเนอร์ (Bruner) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจาก เพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้ เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning) แนวคิดที่สำคัญ ๆ ของ บรุนเนอร์ มีดังนี้
ทฤษฎีการเรียนรู้
1) การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
2) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิด ประสิทธิภาพ
3) การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้
4) แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
5) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ
1. ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
2. ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
3. ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
วัยอนุบาล จะอยู่ในระดับการกระทำ ซึ่งการเรียนรู้ต่าง ๆอยุ่ในลักษณะของการกระทำ โดยผ่านประสบการณ์ที่ได้พบเห็นและการรับรู้ต่าง ๆ เด็กวัยนี้ไม่สามารถรอคอยได้นาน ๆ เราควรสนองความพึงพอใจให้กับเด็กอย่างทันทีที่ทำงานแต่ละครั้งเสร็จ ควรให้มีบรรยากาศของความสนุกสนานผ่อนปรนไม่ตึงเคียดและควรเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความสามารถต่าง ๆ เพื่อก่อให้เกิดความมั่นใจ
วัยเด็กประถมต้น
วัยนี้สามารถสร้างภาพในใจได้ และยังต้องการสนองตอบความพึงพอใจอย่างทันท่วงที่ภายหลังที่ทำเสร็จและบรรยากาศที่ผ่อนปรน
วัยเด็กประถมปลาย เป็นวัยที่สร้างภาพในใจ การพัฒนาการทางสติปัญญา
จะแสดงให้เห็นจาการที่เด็กสามารถเลือกจากตัวเลือกหลาย ๆ ตัวในเวลาเดียวกัน และสามารถแบ่งเวลาและความสนใจได้อย่างเหมาะสมกับตัวเลือกนั้น
สำหรับวัยรุ่น จะอยู่ในขั้นที่ 3 ของบรูเนอร์ ขั้นนี้จะกล่าวถึง การถ่ายทอดประสบการณ์หรือเหตุการณ์ต่างๆ โดยใช้สัญลักษณ์หรือภาษา ซึ่งภาษาเป็นสิ่งที่แสดงถึงความคิดความมีเหตุผลอธิบายสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ ตลอดจนสามารถแก้ปัญหาต่างๆ อย่างมีระบบ
มนุษย์จะพัฒนาความรู้ความเข้าใจ
จากทั้ง 3 ลักษณะ ซึ่งเป็นกระบวนการต่อเนื่องไปตลอดชีวิต มิใช่เกิดขึ้นเพียงช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะแรก ๆ
ของชีวิตเท่านั้น 6) การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด
หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
7) การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning)
การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา / การสอน
* กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียน7) การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning)
การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา / การสอน
* การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสมเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องทำก่อนการสอน
* การจัดหลักสูตรแบบเกลียว (Spiral Curriculum) ช่วยให้สามารถสอนเนื้อหาหรือความคิดรวบยอดเดียวกันแก่ผู้เรียนทุกวัยได้โดยต้องจัดเนื้อหาความคิดรวบยอดและวิธีสอนให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน
* ในการเรียนการสอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระให้มากเพื่อช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน
* การสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เป็นสิ่งจำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียน
* การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
* การสอนความคิดรวบยอดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็น
* การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ครูสามารถจัดการสอนเนื้อหาวิชาใด ๆ ให้กับเด็กในช่วงใดของชีวิตก็ได้ ถ้ารู้จักเลือกวิธีการที่เหมาะสม สำหรับวัยรุ่น วัยนี้สามารถคิดอย่างมีเหตุผล แต่อาจจะมิใช่เหตุผลดังที่ผู้ใหญ่คิดดังนั้น ครูอาจทราบเหตุผลของเด็กได้โดยการกระตุ้นให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ และการเขียนรายงานโดยไม่มีคะแนน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น