วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีกลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt's Theory)


ทฤษฎีกลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt's Theory) 


นักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Psychology) ชาวเยอรมัน ประกอบด้วย Max Wertheimer, Wolfgang Kohler และ Kurt Koftka ซึ่งมีความสนใจเกี่ยวกับการรับรู้ (Perception ) การเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์เก่าและใหม่ นำไปสู่กระบวนการคิดเพื่อการแก้ปัญหา (Insight)

องค์ประกอบของการเรียนรู้ มี 2 ส่วน คือ



1.               การรับรู้ (Perception) เป็นกระบวนการแปลความหมายของสิ่งเร้าที่มากระทบประสาทสัมผัส ซึ่งจะเน้นความสำคัญของการรับรู้เป็นส่วนรวมที่สมบูรณ์มากกว่าการรับรู้ส่วน ย่อยทีละส่วน
2.               การหยั่งเห็น (Insight) เป็นการรู้แจ้ง เกิดความคิดความเข้าใจแวบเข้ามาทันทีทันใดขณะที่บุคคลกำลังเผชิญปัญหาและจัด ระบบการรับรู้ ซึ่งเดวิส (Davis, 1965) ใช้คำว่า Aha ' experience

 ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยการหยั่งรู้ (Insight Learning)
 ทฤษฎีการหยั่งรู้นี้เป็นการศึกษาทดลองของนักจิตวิทยาชาวเยอรมันซึ่งเย กว่ากลุ่มเกสตอล (Gestalt) ซึ่งประกอบด้วย นักจิตวิทยาที่สำคัญ 3 คน คือ เวอร์ไทเมอร์ คอฟฟ์ก้าและเคอเลอร์
คำว่า เกสตอล (Gestalt) หมายถึง แบบแผนหรือภาพรวม โดยนักจิตวิทยากลุ่มนี้ ได้ให้ความสำคัญกับส่วนรวม หรือผลรวมมากว่า ส่วนย่อย ในการศึกษาวิจัยพบว่าการรับรู้ของคนเรามักจะรับรู้ส่วนรวมมากกว่า รายละเอียดปลีกย่อย  ในการเรียนรู้ และการแก้ปัญหา ก็เช่นเดียวกัน คนเรามักจะเรียนอะไรได้เข้าใจก็ต้องศึกษาภาพรวมก่อน หลังจาก นั้นจึง พิจารณา รายละเอียดปลีกย่อย จะทำให้เกิดความเข้าใจ ในเรื่องนั้นได้ชัดเจนขึ้น
ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยการหยั่งเห็น
หลักของการหยั่งเห็นสรุปได้ดังนี้
1.               การหยั่งเห็นขึ้นอยู่กับสภาพปัญหา การหยั่งเห็นจะเกิดขึ้นได้ง่ายถ้ามีการรับรู้องค์ประกอบของปัญหาที่สัมพันธ์ กัน บุคคลสามารถสร้างภาพในใจเกี่ยวกับขั้นตอนเหตุการณ์ หรือสภาพการณ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อพยายามหาคำตอบ 
2.               คำตอบที่เกิดขึ้นในใจถือว่าเป็นการหยั่งเห็น ถ้าสามารถแก้ปัญหาได้บุคคลจะนำมาใช้ในโอกาสต่อไปอีก 
3.               คำตอบหรือการหยั่งเห็นที่เกิดขึ้นสามารถนำไปประยุกต์ ใช้ในสถานการณ์ใหม่ได้


การเรียนรู้ตามแนวของกลุ่มเกสตอล จะมีลักษณะดังนี้

ภาพรวม 
รายละเอียดปลีกย่อย  ภาพรวม
(Whole)                               (Parts)                                                    (Whole)
(ความเข้าใจ)
(Insight) 

           การทดลองของกลุ่มการเรียนรู้ด้วยการหยั่งรู้ ผลการทดลอง สรุปได้ว่า โดยปกติแล้วคนเราจะมีวิธีการเรียนรู้แลการแก้ปัญหา โดยอาศัยความ คิดและประสบการณ์ เดิมมากว่ากาลองผิดลองถูก  เมื่อสามารถแก้ปัญหาในลักษณะนั้นได้แล้ว เมื่อเผชิญกับปัญหาที่คล้ายคลึง กันก็สามารถแก้ปัญหาได้ทันที ลักษณะดังกล่าวนี้เกิดขึ้นได้ เพราะมนุษย์สามารถจัดแบบ (Pattern) ของความคิดใหม่เพื่อใช้ใน การแก้ปัญหาที่ตนเผชิญอยู่ได้อย่างเหมาะสม หลักการรับรู้ของมนุษย์ เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้มีผลให้นักการศึกษานำมาใช้ประโยชน์ได้ อย่างมาก ทั้งนี้เพราะการรับรู้เป็นปัจจัยสำคัญของการเรียนรู้
การรับรู้ของมนุษย์มีลักษณะเป็นอัตนัย (Subjective) และเห็นความสำคัญของส่วนรวมมากกว่า รายละเอียดปลีกย่อย
กฎการรับรู้ที่สำคัญมี 4 ข้อ ดังนี้
1. กฎแห่งความใกล้ชิด (Proximity) สิ่งเร้าที่อยู่ใกล้กัน มักจะถูกรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน
2. กฎแห่งความคล้าย (Similarity) สิ่งเร้าที่มองดูคล้ายกันจะถูกจัดว่าเป็นพวกเดียวกัน
3. กฎแห่งความสมบูรณ์ (Closure) สิ่งเร้าที่มีบางส่วนบกพร่องไปคนเราจะรับรู้โดยเติมส่วนที่ขาดหาย ไปให้เป็นภาพ หรือเป็นเรื่องที่สมบูรณ์
4. กฎแห่งการต่อเนื่องที่ดี (Good Continuation) สิ่งเร้าที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันอย่างดี จะถูกรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน
 การนำหลักการทฤษฎีกลุ่มความรู้ ความเข้าใจ ไปประยุกต์ใช้
1.               ครูควรสร้างบรรยากาศการเรียนที่เป็นกันเอง และมีอิสระที่จะให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ทั้งที่ถูกและผิด เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของข้อมูล และเกิดการหยั่งเห็น
2.               เปิดโอกาสให้มีการอภิปรายในชั้นเรียน โดยใช้แนวทางต่อไปนี้
--เน้นความแตกต่าง
--กระตุ้นให้มีการเดาและหาเหตุผล
--กระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม
--กระตุ้นให้ใช้ความคิดอย่างรอบคอบ
--กำหนดขอบเขตไม่ให้อภิปรายออกนอกประเด็น
3.               การกำหนดบทเรียนควรมีโครงสร้างที่มีระบบเป็นขั้นตอน เนื้อหามีความสอดคล้องต่อเนื่องกัน
4.               คำนึงถึงเจตคติและความรู้สึกของผู้เรียน พยายามจัดกิจกรรมที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ ผู้เรียนนำไปใช้ประโยชน์ได้ และควรจัดโอกาสให้ผู้เรียนรู้สึกประสบความสำเร็จด้วย
5.               บุคลิกภาพของครูและความสามารถในการถ่ายทอด จะเป็นสิ่งจูงใจให้ผู้เรียนมีความศรัทธาและครูจะสามารถเข้าไปอยู่ใน Life space ของผู้เรียนได้
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น