วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีพัฒนาการทางจิต- สังคม อีริคสัน




1.                                                        ทฤษฎีพัฒนาการทางจิต- สังคม   อีริคสัน (Erikson) 



ประวัติความเป็นมา  Erikson
                                อิริคสัน ค.ศ.1902 เป็นนักจิตวิเคราะห์ที่มีชื่อของอเมริกา  และจัดอยู่ในกลุ่มฟรอยด์รุ่นใหม่  เกิดที่เมืองแฟรงเฟิต  ประเทศเยอรมัน  ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ประเทศอเมริกาในปี  ค.ศ. 1933 และเป็นผู้วิเคราะห์เกี่ยวกับเด็กเป็นคนแรกในนครบอสตัน  เห็นว่าการจะทำความเข้าใจพฤติกรรมเด็ก  จะต้องศึกษาจากการอบรมเลี้ยงดู  สภาพสังคม  และความเป็นอยู่ของเด็ก  ปัญหาที่นำมาวิเคราะห์นั้นจะอธิบายเชื่อมโยงระหว่างจิตวิทยากับสังคมวิทยาใน รูปแบบของมนุษย์วิทยาซึ่งมีแนวความคิดว่ามนุษย์ต้องพึ่งสังคมและสังคมก็ต้อง พึ่งมนุษย์  มนุษย์มีวิวัฒนาการที่สลับซับซ้อนและผ่านขั้นตอนต่างๆของธรรมชาติหลายขั้น ตอน
อีริคสัน  Psychosocial
เน้นปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
ถ้าปฏิสัมพันธ์ไม่ดีส่งผลต่อการปรับตัวของสุขภาพจิต 

อีริคสัน  Psychosocialแบ่งพัฒนาการทางบุคลิกภาพออกเป็น ขั้น
ขั้นที่  1  อายุ  1-2  ขวบ    ไว้ใจ หรือไม่ไว้ใจ  (Trust  vs  Mistrust)
                ความอบอุ่นที่เกิดจากครอบครัว ทำให้เด็กเชื่อถือไว้ใจต่อโลก ไว้ใจคนอื่น ทำให้กล้าที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่

ขั้นที่ 2  อายุ  2-3 ขวบ        เป็นอิสระหรือละอายสงสัย(Autonomous  vs  Shame and Doubt)
                ระยะที่เด็กพยายามใช้คำพูดของตัวเองและสำรวจโลกรอบๆตัว ถ้าพ่อแม่สนับสนุนจะทำให้เด็กรู้จักช่วยตนเองและมีอิสระ ส่งเสริมความสามารถของเด็ก
ขั้นที่ อายุ 4-5 ขวบ         คิดริเริ่ม หรือรู้จักผิด(Initiative  vs  Guilt)
                บทบาทของสังคม ริเริ่มทางความคิดจากการเล่น เด็กที่ถูกห้ามไม่ให้ทำอะไรในสิ่งที่เขาอยากทำ เป็นเหตุให้เด็กรู้สึกผิด ตลอดเวลา บิดามารดาควรพิจารณาร่วมกันว่ากิจกรรมใดที่ปล่อยให้เด็กทำได้ ก็ให้เด็กทำ จะได้เกิดคุณค่าในตัวเอง ลดความรู้สึกผิดลงได้
ขั้นที่ 4  อายุ 6-11 ขวบ        ขยัน หรือมีปมด้อย(Industry  vs  Inferiority)
                เด็กจะเริ่มมีทักษะทางด้านร่างกายและสังคมมากขึ้น โดยไม่ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่เด็กเริ่มมีการแข่งขันกันในการทำงาน เด็กวัยนี้จะชอบให้คนชม ถ้าขาดการสนับสนุนอาจทำให้เกิดความรู้สึกมีปมด้อย
ขั้นที่  อายุ 11-18 ปี      เข้าใจบทบาทของตัวเอง หรือ สับสนในบทบาทของตัวเอง(Ego Identity  vs  Role  Confusion)
                ระยะมีเอกลักษณ์ของตนเองกับความไม่เข้าใจตนเอง : เป็นระยะที่เด็กเริ่มสนใจเพศตรงข้ามรู้จักตนเอง ว่าเป็นใคร ถนัดด้านใด สนใจอะไร และถ้าเด็กมีความรู้สึกไม่เข้าใจตนเองก็จะเกิดความสับสน ในตนเอง และล้มเหลวในชีวิตได้
ขั้นที่  อายุ 20-35 ปี         ผูกพัน หรือตีตัวออกห่าง(Intimacy  vs  Isolation)
                เป็นวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ใช้ชีวิตแบบผู้ใหญ่ทำงานเพื่อประกอบอาชีพ สร้างหลักฐาน มีความรักความผูกพัน
ขั้นที่ 7 อายุ  36-45 ปี          ให้กำเนิด หรือหมกมุ่นในตัวเอง(Generativity  vs  Stagnation)
                ระยะให้กำเนิดและเลี้ยงดูบุตร วัยผู้ใหญ่ถึงวัยกลางคน  มีครอบครัวมีบุตร ได้ทำหน้าที่ของพ่อแม่
ขั้นที่  8 อายุ 45 ขึ้นไป         มีศักดิ์ศรี หรือหมดหวัง(Ego  Integrity  vs  Despair)
                วัยที่ต้องยอมรับความจริงของชีวิต ระลึกถึงความทรงจำในอดีต ถ้าอดีตที่ผ่านมาแล้วประสบความสำเร็จจะทำให้มีความมั่นคงทางจิตใจ

อิ
               สรุป ทฤษฎีของอีริคสัน เป็นทฤษฎีที่อธิบายพัฒนาการของชีวิตตั้งแต่งวัยทารกจนถึงวัยชรา อีริคสันเชื่อว่า วัยแรกของชีวิตเป็นวัยที่เป็นรากฐานเบื้องต้น และวัยต่อ ๆ มาก็สร้างจากรากฐานนี้ ถ้าหากในวัยทารกเด็กได้รับการดูแลอย่างดีและอบอุ่น ก็จะช่วยให้เด็กมีความเชื่อถือในผู้อื่นที่อยู่รอบ ๆ ตั้งแต่บิดามารดา บุคคลต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเขา จะช่วยให้เด็กช่วยตนเอง มีความตั้งใจที่จะทำอะไรเอง และเมื่อเขาเติบโตขึ้นก็จะเป็นผู้ที่รู้สึกว่าตนเองมีสมรรถภาพที่จะทำอะไร ได้ นอกจากนี้จะมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น สามารถที่จะยอมรับสิ่งที่ดีและไม่ดีของตนเองได้และผู้อื่นสามารถที่จะสนิท สนมกับผู้อื่น ทั้งเพศเดียวกันและเพศตรงข้ามโดยสนิทใจ โดยไม่มีความอิจฉาว่าเพื่อนจะดีกว่าตน เมื่อเป็นผู้ใหญ่ก็จะเป็นผู้เสียสละไม่เห็นแก่ตัวดูแลผู้ที่อ่อนเยาว์กว่า เช่น ลูกหลาน หรือคนรุ่นหลังต่อไป และเมื่ออยู่ในวัยชราก็จะมีความสุข เพราะว่าได้ทำประโยชน์และหน้าที่มาอย่างเต็มที่แล้ว อีริคสสันถือว่าชีวิตของคนเรา แต่ละวัยจะมีปัญหา บางคนก็สามารถแก้ปัญหาด้วยตนเอง และดำเนินชีวิตไปตามขั้น แต่บางคนก็แก้ปัญหาเองไม่ได้ อาจจะต้องไปพบจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยาช่วยเพื่อแก้ปัญหา แต่บุคลิกภาพของแต่ละบุคคลเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และทุกคนมีโอกาสที่จะแก้ไขบุคลิกภาพของตน และผู้ใหญ่ที่อยู่แวดล้อมก็มีส่วนที่จะช่วยส่งเสริมหรือแก้ไขบุคลิกภาพของ ผู้เยาว์ที่อยู่ในความดูแลให้เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น