วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฏี พัฒนาการ Kohlberg



ทฤษฏี พัฒนาการ Kohlberg
 
  • ทฤษฎีการพัฒนาการของ Kohlberg ( Moral Development Thoery )
        ลอเรนซ์ โคห์ลเบิร์ก นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ผู้มีแนวคิดเช่นเดียวกับเพียเจต์ คือ สนใจพฤติกรรมภายใน หรือความรู้ความเข้าใจของบุคคลที่แสดงพฤติกรรมต่างๆแต่เน้นศึกษาไปที่การ ตัดสินใจจริยธรรม คือ เรื่องความดีหรือไม่ดีของพฤติกรรม
        โคลเบิร์ก ได้ทำการวิเคราะห์เหตุผลเชิงจริยธรรม โดยทำการวิเคราะห์คำตอบของเยาวชนอเมริกันอายุ ๑๐-๑๖ปี และแบ่งประเภทเหตุผลเชิงจริยธรรมใว้ ๖ ประเภทคือ
  ระดับที่ ๑ ขึ้นก่อนกฏเกณฑ์ หมาถึงการตัดสินใจเลือกกระทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง โดยไม่คำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้อื่น นั้นนี้จะแยกเป็น ๒ ระยะคือ
      ๑.๑ มีลักษณะที่จะหลบหลีกมิให้ตนเองถูกลงโทษทางกาย เพราะกลัวความเจ็บปวดที่จะได้รับและยอมทำตามคำสั่งของผู้ใหญ่เพราะเป็นผู้มี อำนาจทางกายเหนือตน
      ๑.๒ มีลักษณะเลือกการกระทำ ในสิ่งที่จะนำความพอใจมาให้ตนเท่านั้น เริ่มรู้จักการแลกเปลี่ยนกันแบบเด็กๆคือเขาทำมา ฉันต้องทำไป เขาให้ฉัน ฉัก็ให้เขาดังนี้เป็นต้น
   ระดับที่ ๒ ระดับตามกฏเกณฑ์ หมายถึงการทำตามกฏเกณฑ์ของกลุ่มย่อยๆของตน หรือทำตามกฏหมายและศาสนา บุคคลที่มีจริยธรรมในระดับ ๒ นี้ยังต้องการการควบคุมจากภายนอก แต่มีความสามารถในการเอาใจเขามาใส่ใจเรา และมีความสามารถที่จะแสดงบทบาททางสังคมได้ ขั้นนี้แบ่งเป็น ๒ ขั้นย่อยคือ
       ๒.๑ บุคคลยังไม่เป็นตัวของตัวเองเลยชอบคล้อยตามการชักจูงของผู้อื่นโดยเฉพาะเพื่อน
       ๒.๒ บุคคลที่มีความรู้บทบาทหน้าที่ของตนในฐานะที่เป็นหน่วยหนึ่งในสังคมของตน จึงถือว่าตนมีหน้าที่ทำตามกฏเกณฑ์ต่างๆที่สังคมของตนกำหนดหรือคาดหมาย
   ระดับที่ ๓ ระดับเหนือกฏเกณฑ์ หมายถึงการตัดสินข้อขัดแย้งต่างๆด้วยการนำมาคิดตรึกตรองชั่งใจโดยตนเองแล้ว ตัดสินใจไปตามแต่ว่า จะเห็นความสำคัญของสิ่งใดมากกว่ากัน แบ่งเป็น ๒ ขั้นย่อยเช่นกันคือ
        ๓.๑ มีลักษณะเห็นความสำคัญของคนหมู่มาก ไม่ทำตนให้ขัดต่อสิทธิอันพึงมีพึงได้ของผู้อื่น สามารถควบคุมบังคับจิตใจตนเองได้
        ๓.๒ เป็นขั้นสูงสุด มีลักษณะแสดงทั้งการมีความรู้สากลนอกเหนื่อจากกฏเกณฑ์ในสังคมของตน
 และ มีการยืดหยุ่นทางจริยธรรม เพื่อจุดมุ่งหมายในบั้นปลายอันเป็นอุดมคติที่ยิ่งใหญ่ นอกจากนี้ยังมีหลักประจำใจซึ่งตรงกับหลักในพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า " หิริ - โอตตัปปะ "ด้วย
 ตารางแสดงขั้นพัฒนาการทางจริยธรรมของ โคลเบิร์ก


ตารางแสดงระดับริยะธรรมและขั้นการให้เหตุผลเชิงจริยธรรม
http://almustofa.yiu.ac.th/media/kunena/attachments/42/kohlberg3.jpg  

              สรุปแล้ว โคลเบิร์กได้แบ่งพัฒนาการทางจริยธรรมออกเป็น 3 ระดับ แต่ละระดับแบ่งออกเป็น 2 ขั้น ถือว่าพัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์เป็นไปตามขั้นอย่างมีระเบียบ คือเริ่มจากขั้นที่ 1,2,3,4,5 และ 6 ตามลำดับ บุคคลทุกคนจะต้องผ่านพัฒนาการทางจริยธรรมขั้นต้น ๆ ซึ่งเป็นรากฐานของพัฒนาการทางจริยธรรมขั้นต่อไป และเมื่อผ่านแล้ว ก็ยากที่จะกลับไปขั้นเดิมอีก
              สรุปลำดับขั้นพัฒนาการจริยธรรมของโคลเบิร์ก
ระดับก่อนกฎเกณฑ์สังคม " ดี" คือได้รางวัล "ไม่ดี"คือการได้รับโทษ
ขั้นที่ 1. บุคคลใช้เกณฑ์ทางจริยธรรม โดยยึดการลงโทษ การเชื่อฟัง เป็นเกณฑ์ในการตัดสิน
ขั้นที่ 2. บุคคลใช้ กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตน ไม่คิดถึงความยุติธรรม ไม่เห็นใจผู้อื่น ทำเพื่อสนองความต้องการ ของตนเอง ทำโดยมีเงื่อนไข ระดับจริยธรรมตามกฏเกณฑ์สังคม
ขั้นที่ 3. บุคคลทำตามความคาดหวังและการยอมรับในสังคม สำหรับเด็กดี good boy, nice girl
จะทำตามผู้ใหญ่ ผู้บังคับบัญชา ยอมรับโดยไม่คำนึงความถูกต้อง
ขั้นที่ 4. บุคคลยึดกฎและระเบียบ การทำตามหน้าที่ ประพฤติตนไม่ผิดกฎหมาย รักษาระเบียบแบบแผน ของสังคม
ระดับจริยธรรมตามหลักการด้วยวิจารณญาณหรือระดับเหนือกฎเกณฑ์ของสังคม
ขั้นที่ 5. บุคคลยึดหลักสัญญาประชาคม หรือหลักการทำตามคำมั่นสัญญา
ขั้นที่ 6. บุคคลยึดหลักการคุณธรรมสากล

  • การนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้
       ทฤษฎี พัฒนาการทางจริยธรรมของโคห์ลเบิร์ก ทำให้ผู้สอนรู้ว่าเด็กเล็กมีการตอบสนองข้อขัดแย้งในเรื่องจริยธรรม แตกต่างจากเด็กโต ซึ่งในการจัดการเรียนรู้นั้นผู้สอนควรกระตุ้นให้เด็กได้สื่อแนวคิดนั้นๆออก มาโดยสร้างบรรยากาศที่สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนอภิปรายได้อย่างอิสระ และใช้สถานการณ์ตัวอย่างหรือเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในห้องเรียนมากระตุ้น ให้ผู้เรียนตระหนักถึงการมีจริยธรรม




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น